Articles Posted in the " บทความทั้งหมด " Category

  • น้ำมันไทยแพงแต่ส่งออกถูก

    น้ำมันไทยแพงแต่ส่งออกถูก

    อีกหนึ่งในประเด็นโต้แย้งเรื่องพลังงานคือ ทำไมต้องส่งออกน้ำมันแถมยังส่งออกในราคาถูกกว่าที่คนไทยจ่าย อีกทั้งยังสร้างความสับสนให้ประชาชนที่รับข้อมูลบางกลุ่มคิดว่าที่ประเทศไทยส่งออกน้ำมันเป็นเพราะมีน้ำมันมหาศาลติดอันดับโลก ความเป็นจริงแล้วประเทศไทยมีน้ำมันน้อย จัดหาได้ประมาณ 10% จากปริมาณการใช้ในประเทศเท่านั้น ประเทศไทยพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันแต่ก็ยังมีการส่งออกน้ำมันทั้งรูปแบบสำเร็จรูปและน้ำมันดิบ ซึ่งปริมาณส่งออกน้อยมากถ้าเทียบจากปริมาณการผลิตทั้งหมด และราคาที่ “ส่งออกถูกกว่า” เพราะไม่ได้เก็บภาษีสรรพษามิตร ภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมถึงกองทุนต่างๆ ในประเทศ ซึ่งเป็นสิ่งที่ชาติเก็บจากคนในชาติ เพื่อพัฒนาชาติ กรณีส่งออกมาจาก 2 สาเหตุสำคัญคือโรงกลั่นไม่สามารถกลั่นน้ำมันดิบได้ หรือน้ำมันดิบไม่เหมาะกับการใช้ของคนในประเทศ เพราะน้ำมันจากบางแหล่งมีสารปรอทมาก ส่งผลต่อโรงกลั่นจึงส่งออกให้กับประเทศที่สามารถกลั่นน้ำมันดิบชนิดนั้นได้ กรณีที่ 2 คือการขุดเจาะพบน้ำมันดิบที่สามารถกลั่นเบนซินได้มาก แต่ไม่ตรงกับการใช้ของคนไทย ก็จะมีการส่งออกเพื่อนำเข้าน้ำมันดิบที่ตรงกับต้องการใช้ของคนไทยเข้ามาแทน นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไม ไทยจึงเป็นผู้ “นำเข้า” น้ำมันปริมาณมหาศาล แต่ในขณะเดียวกันก็ “ส่งออก” น้ำมันด้วย เป็นเพราะว่าน้ำมันที่ไทยนำเข้าและส่งออก เป็นคนละตัวกันนั่นเอง ส่วนเรื่องที่คาใจคนไทยทั้งประเทศคือ ทำไมราคาน้ำมันไทยถึงแพง ปัจจัยสำคัญเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับสารพัดค่า ไม่ว่าจะเป็น ค่าภาษี ค่าการตลาด ไปจนถึงการแบ่งเงินส่วนหนึ่งที่ต้องส่งเข้ากองทุนน้ำมันให้กับภาครัฐ ซึ่งผู้ที่ได้ประโยชน์ส่วนนี้คือรัฐบาลไม่ใช่บริษัทผู้ค้าน้ำมัน ความต้องการใช้น้ำมันมีอัตราที่เพิ่มมากขึ้นทุก ๆ ปี ในขณะที่มีอยู่อย่างจำกัด แต่ปัญหาก็อยู่ที่ว่าเราจะทำอย่างไรถึงจะช่วยกันประหยัดพลังงานของชาติให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ของทุกคนได้ และต้องช่วยทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้นด้วย Share This:


  • หุ้นปตท.แท้จริงเป็นของใคร?

    แม้ว่าประเทศจะผ่านความขัดแย้ง พยายามเข้าสู่การปรองดองมาพักใหญ่ แต่ชื่อของนักการเมืองบางคนยังถูกกล่าวถึงและใช้เป็นเครื่องมืออยู่เสมอ โดยเฉพาะหุ้น ปตท. ทั้งตัวนักการเมืองเองหรือคนสนิทรอบข้าง ที่ต่างมีการพยายามโยงว่าเป็นการถือผ่านนอมินีบ้าง ผ่านคนสนิทบ้าง พอเห็นกระแสข่าวเรื่องรัฐมนตรีพลังงานกับกรณี ปตท.ที่จะเอาบริษัทในเครือเข้าตลาดหลักทรัพย์ เลยคิดถึงเรื่องการถือครองหุ้นของปตท.ว่าทำไมรัฐบาลถึงสั่งปตท.ได้ ซึ่งผมก็หาข้อมูลมาได้ดั่งตารางข้างล่างนี้ หากเรามาดูรายชื่ออันดับผู้ถือหุ้นของปตท. ก็จะเห็นว่าสัดส่วนของรายชื่อที่เป็นสังกัดของรัฐบาลไทยมีกระทรวงการคลัง, กองทุนวายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด(มหาชน), กองทุนวายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.กรุงไทย จำกัด(มหาชน)และสำนักงานประกันสังคม รวมๆกันอยู่ที่ 64.70% หลายๆคนที่ไม่เคยลงทุน คงจะสงสัยชื่อ NVDR ผมขออธิบายง่าย ๆนะครับ NVDR เอ็นวีดีอาร์หรือใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย เป็นตราสารที่ออกโดยบริษัทที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจัดตั้งขึ้นชื่อว่า “บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด” (Thai NVDR Company Limited) เอ็นวีดีอาร์เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนโดยอัตโนมัติ (Automatic List) วัตถุประสงค์หลักของเอ็นวีดีอาร์ คือเพื่อกระตุ้นการลงทุนและเพิ่มสภาพคล่องให้ตลาดหลักทรัพย์และเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับนักลงทุนชาวต่างประเทศ ที่สนใจลงทุนในบริษัทจดทะเบียนแต่อาจไม่สามารถลงทุนในหลักทรัพย์นั้นได้ อันเนื่องมาจากการควบคุมสัดส่วนการถือครองหหลักทรัพย์ของคนต่างด้าวที่ระบุไว้ตามกฎหมายไทย ซึ่งผู้ลงทุนจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางการเงิน เช่น เงินปันผล และสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนเช่นเดียวกับการลงทุนในหุ้นของบริษัทจดทะเบียน แต่ผู้ถือเอ็นวีดีอาร์จะไม่มีสิทธิในการออกเสียงในที่ประชุมของบริษัทจดทะเบียน (Non-Voting Rights) (https://www.set.or.th/nvdr/th/about/whatis.html) SOUTH […]


  • ปตท.กับรางวัล “องค์กรโปร่งใส” จากป.ป.ช. ลบล้างภาพการทุจริต

    จากกระแสการโจมตีเรื่องราคาพลังงานงานจากกลุ่มคนบางกลุ่ม เพื่อหวังประโยชน์จากการกดดันให้ได้ใช้พลังงานราคาถูก โดยไม่สนผลกระทบที่จะตามมา ลามไปถึงการดิสเครดิตองค์กรด้วยการตั้งข้อสงสัยเรื่องธรรมาภิบาลและการทุจริต ซึ่งวาทะกรรมเหล่านี้ ได้สร้างความเข้าใจผิดให้กับหลายคนที่ติดตามเรื่องพลังงานในโลกโซเชียล มองอย่างเป็นกลาง ปตท. คือองค์กรหนึ่งที่ได้รับรางวัลที่เกี่ยวข้องกับความโปร่งใสและธรรมาภิบาลมากมายมาตลอดหลายปีที่ผ่านมา อย่างในปี 2019 นี้ เราก็ยังได้เห็นข่าว การได้รับรางวัลด้านธรรมาภิบาลจาก ป.ป.ช. แสดงให้เห็นถึงการดำเนินการอย่างโปร่งใส และลบล้างภาพการทุจริต กับ ปตท. ได้เป็นอย่างดี …สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) โดยพลตำรวจเอก วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานกรรมการ ได้ให้เกียรติมอบรางวัล “องค์กรโปร่งใส” ครั้งที่ 8 แก่ นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เพื่อเป็นเกียรติยศแห่งคุณธรรม จริยธรรม และความซื่อสัตย์สุจริตแก่องค์กรที่ยึดมั่นในนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี บริหารจัดการด้วยหลักธรรมาภิบาล รวมทั้งมุ่งมั่นดูแลสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ณ สำนักงาน ป.ป.ช. ทั้งนี้นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด […]


  • ทักษิณเกี่ยวอะไรกับหุ้น ปตท.

    ย้อนกลับไปในอดีตในวันที่ 1 ตุลาคม 2544 การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยได้แปรสภาพเป็นบริษัท ปตท. จำกัด มหาชน พร้อมที่จะดำเนินการจำหน่ายหุ้นเพิ่มทุนเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้ แต่เกิดปัญหาใหญ่ขึ้นมาเสียก่อน นั้นคือเหตุวินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 หรือ 9/11 (ไนน์วันวัน) เป็นการการโจมตีพลีชีพที่ประสานกันสี่ครั้งต่อสหรัฐ ในนครนิวยอร์กและพื้นที่วอชิงตัน ดี.ซี. เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 เช้าวันนั้น ผู้ก่อการร้าย 19 คนจากกลุ่มอิสลามจากฝั่งตะวันออกกลางอัลกออิดะฮ์จี้อากาศยานโดยสารสี่ลำ โจรจี้เครื่องบินนำเครื่องบินทั้งสองพุ่งชนตึกแฝดเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ในนครนิวยอร์กโดยเจตนา และอาคารทั้งสองถล่มลงภายในสองชั่วโมง โจรจี้เครื่องบินชนเครื่องบินลำที่สามกับอาคารเพนตากอนในอาร์ลิงตัน รัฐเวอร์จิเนีย ส่วนเครื่องบินลำที่สี่ ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 93 ตกในทุ่งใกล้กับแชงค์วิลล์ รัฐเพนซิลเวเนีย ก่อนถึงเป้าหมายที่โจรจี้เครื่องบินต้องการพุ่งชนอาคารรัฐสภาสหรัฐ ในวอชิงตัน ดี.ซี. หลังผู้โดยสารพยายามยึดเครื่องกลับคืน มีผู้เสียชีวิตเกือบ 3,000 คนในเหตุโจมตีดังกล่าวและไม่มีผู้รอดชีวิตจากเครื่องบินทั้งสี่ลำ (ที่มา : th.wikipedia.org/wiki/วินาศกรรม_11_กันยายน) จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ตลาดหุ้นตกทั่วโลก หุ้นไทยที่ตกต่ำสุดขีดหลังวิกฤติอยู่แล้ว และก็ทำท่าว่าจะกระเตื้องเพราะมีข่าว IPO ของหุ้นปตท. แต่ก็กลับตกลงไปอีก […]


  • ท่อก๊าซ มหากาพย์ ปตท. อมท่อ ที่ควรจบไปนานแล้ว …

    ท่อก๊าซ มหากาพย์ ปตท. อมท่อ ที่ควรจบไปนานแล้ว …

    ท่อก๊าซ มหากาพย์ ปตท. อมท่อ ที่ควรจบไปนานแล้ว … ในวันที่ 14 ธันวาคม 2550 ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำวินิจฉัยโดยให้หลักการเพื่อให้ ปตท. ไปแบ่งแยกทรัพย์สินที่ได้รับการโอนจากการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย โดยมีหลักการดังนี้ “1. ที่ดินที่ได้มาจากการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ซึ่งเกิดจากการที่การปิโตรเลียมฯ ได้ใช้เงินทุนจากรัฐ และใช้อำนาจมหาชนเวนคืนที่ดิน 2. สิทธิเหนือที่ดินของเอกชนที่การปิโตรเลียมฯ ใช้อำนาจมหาชน (รอนสิทธิ) เหนือที่ดินเอกชนและจ่ายเงินค่าทดแทนโดยอาศัยทรัพย์สินของรัฐ 3. ทรัพย์สินที่เป็นท่อก๊าซและอุปกรณ์ที่ประกอบกันเป็นระบบท่อฯ ซึ่งการปิโตรเลียมฯ ใช้อำนาจมหาชนเหนือที่ดินเอกชนและจ่ายเงินค่าทดแทนอโดยใช้เงินการปิโตรเลียมฯโดยใช้เงินการปิโตรเลียมฯ” ซึ่งหลังจากนั้น 4 วัน ในวันที่ วันที่ 18 ธันวาคม 2550 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบหลักการแบ่งแยกทรัพย์สินตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ต่อมาวันที่ 26 ธันวาคม 2550 กรมธนารักษ์ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและกำหนดแนวทางดำเนินการเกี่ยวกับการรับโอนทรัพย์สินของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เมื่อดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว กรมธนารักษ์ก็ได้มีหนังสือลงวันที่ 22 ธันวาคม 2551 แจ้งมายัง ปตท. ให้รายงานผลการแบ่งแยกทรัพย์สินต่อศาลปกครองสูงสุด หลังจากนั้นในวันที่ 25 ธันวาคม 2551 ปตท. […]


  • CEO ชาญศิลป์ ตรีนุชกร กับกลยุทธ์ ‘3P’ ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน

    CEO ชาญศิลป์ ตรีนุชกร กับกลยุทธ์ ‘3P’ ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน

    CEO ชาญศิลป์ ตรีนุชกร กับกลยุทธ์ ‘3P’ ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน       หลังเข้ารับตำแหน่ง CEO คนใหม่ของปตท. อย่างเป็นทางการ นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร เปิดวิสัยทัศน์สานต่อการดำเนินงานตามกลยุทธ์ของ ปตท. โดยจะปรับปรุงการทำงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทั้งปัจจุบันและอนาคต เตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง จากการดำเนินงานในปี 2561 ราคาน้ำมันและสินค้ากลุ่มปิโตรเคมีอยู่ในระดับดี ในเครือบริษัทก็มีผลกำไรอย่างต่อเนื่อง และได้เน้นการเพิ่มพื้นที่สีเขียว เช่นการปลูกป่า โดยที่ผ่านมาได้เพิ่มพื้นที่ป่าให้กับคุ้งบางกระเจ้า 6 พันไร่ เพื่อให้คุ้งบางกะเจ้าเป็นสมบัติและความภาคภูมิใจของประเทศไทยตลอดไป การจะทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนจำเป็นต้องพัฒนาการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเพิ่มภูมิคุ้มกันโดยยึดหลักธรรมาภิบาลในการดำเนินงาน เพื่อความมั่นคงทางพลังงาน และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้ประเทศ คู่ไปกับการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมสังคมและชุมชน พร้อมทั้งส่งเสริมวัฒนธรรมการรักแล้วปลูกต้นไม้ แผนการดำเนินงานในปี 2562 กลุ่มบริษัท ปตท. มีแผน ’3P’ ประกอบด้วย ‘People’ การทำธุรกิจควบคู่กับการดูแลชุมชนและสังคม โดยเน้นการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม สร้างคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจที่ดีแก่คนในสังคม ซึ่งได้ร่วมพัฒนาการศึกษาไทยด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผ่าน โรงเรียนกำเนิดวิทย์(KVIS) และสถาบันวิทยสิริเมธี(VISTEC) รวมถึงเปิดโอกาสให้ผู้พิการทางการได้ยินมีอาชีพและรายได้ ผ่านร้าน Café Amazon for Chance […]


  • แปรรูปรอบ 2 ของ ปตท. … เข้าใจผิดหรือแค่พยายามบิดเบือน

    แปรรูปรอบ 2 ของ ปตท. … เข้าใจผิดหรือแค่พยายามบิดเบือน

    ในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ที่มีกระแสทุนนิยมเป็นหลักนั้น ย่อมต้องมีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ผู้ที่ไม่เห็นด้วยก็จะเป็นกลุ่มคนที่คิดว่าตนเองเสียผลประโยชน์จะทำการคัดค้านและต่อต้าน ส่วนผู้ที่เห็นด้วยก็คงได้แต่รับฟังและปรับตัวเพื่ออยู่ให้ได้กับกระแสของทุนนิยม ย้อนกลับไปยุคหนึ่งสมัยหนึ่งประเทศไทยประสบกับวิกฤตการณ์ทางการเงินครั้งใหญ่ที่หลายๆคนเรียกว่า วิกฤตต้มยำกุ้ง ในปี 2540 ตอนนั้นประเทศไทยต้องกู้เงินจาก IMF (International Monetary Fund) ภาษาไทยเรียกว่า กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งการที่จะกู้เงินจาก IMF ได้นั้น ต้องทำตามสิ่งที่เขากำหนด ซึ่งหนึ่งในข้อตกลงนั้นก็คือต้องแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้เป็นบริษัท (corporatization) โดย การนำหุ้นออกขายในตลาดหลักทรัพย์เพื่อถ่ายโอนความเป็น เจ้าของไปสู่ภาคเอกชน (privatization) ซึ่งจะทำให้รัฐวิสาหกิจกลายเป็น “องค์กรธุรกิจอย่างเต็มรูปแบบ” แต่รัฐบาลไทยขณะนั้นได้แก้ลำโดยการออกพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 เพื่อที่จะมีความยืดหยุ่นและยังคงสภาพรัฐวิสาหกิจไว้ในตลาดหลักทรัพย์ได้โดยที่กระทรวงการคลังถือหุ้นในสัดส่วนที่เกิน 50% โดยเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติระบุถึงการเปลี่ยนสถานะของรัฐวิสาหกิจจากรูปแบบเดิมที่เป็นรัฐวิสาหกิจประเภทองค์การของรัฐมาเป็นรูปแบบของบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด และระบุต่อว่าการเปลี่ยนสถานะโดยการเปลี่ยนทุนนี้เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินกิจการและเป็นพื้นฐานเบื้องต้นที่จะแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้เป็นองค์กรธุรกิจอย่างเต็มรูปแบบ โดยการกระจายหุ้นที่รัฐถือไว้ ให้แก่ภาคเอกชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการลงทุนและการบริหารจัดการ ขั้นตอนแรกที่เป็นการเปลี่ยนสถานะโดยการเปลี่ยนทุนนี้เอง พระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 มาตรา 4 บัญญัติถึงการนำทุนของรัฐวิสาหกิจมาเปลี่ยนสภาพเป็นหุ้นในรูปแบบของบริษัท และเรียกกันสั้น ๆ ว่า “เปลี่ยนสภาพ” ขั้นตอนถัดมาที่ระบุว่าเป็นการแปรรูปรัฐวิสาหกิจนั้นรวมถึงการกระจายหุ้นให้แก่เอกชนซึ่งในกรณีของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) คือการเสนอขายหุ้นผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ขั้นตอนหลังนี้เรียกกันสั้น ๆ ว่า […]


  • “ปตท. ขายสมบัติชาติ” วาทกรรมน่าเบื่อของกลุ่มที่โจมตีพลังงาน

    “ปตท. ขายสมบัติชาติ” วาทกรรมน่าเบื่อของกลุ่มที่โจมตีพลังงาน เห็นอะไรจากภาพ ๆ นี้ … คงจะด่วนสรุปเกินไป หากจะกล่าวว่าการที่ ปตท. สามารถสร้างรายได้นำส่งรัฐอันดับ 1 รัฐวิสาหกิจ และรายได้รวมตั้งแต่การแปรรูปถึง 8.8 แสนล้าน มาจากการแปรรูป ปตท. ในปี 2544 หรือที่กลุ่มที่โจมตีเรื่องพลังงาน ชอบสร้างวาทกรรมว่าเป็นการขายสมบัติชาติ  แต่คงปฎิเสธไม่ได้การระดมทุนเพื่อสร้างสภาพคล่องในครั้งนั้น เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ ปตท. สามารถยืนฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจ และออกดอกออกผลคืนให้รัฐในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ได้อย่างในปัจจุบัน แม้การแปรรูปครั้งนั้น จะผ่านมาเกือบ 20 ปีแล้ว แต่ประเด็นการแปรรูป ก็ยังถูกโจมตีว่าเป็นการขายสมบัติชาติอยู่ในโซเชียลเป็นระยะ พร้อมความพยายามในทวงคืนให้ ปตท. กลับมาเป็นของรัฐ ทั้งจากกลุ่ม NGO พลังงาน หรือกลุ่มทางการเมืองที่ใช้เรื่องนี้เป็นนโยบายหาเสียง มันไม่มีคำตอบที่ตายตัวหากจะถามว่า ปตท. อยู่ในมือใครจะมีประโยชน์ต่อประเทศมากกว่ากัน ฝ่ายหนึ่งอาจจะมองว่า การที่ ปตท. เป็นของรัฐก็ไม่ต่างกับการทำงานภายใต้คณะบริหาร นั่นก็คือ นักการเมือง ดังนั้นสู้ให้ ปตท. อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ดำเนินกิจการในนามบริษัทที่มีองค์กรต่าง ๆ  คอยตรวจสอบน่าจะดีกว่า แต่อีกฝ่ายอาจมองว่าการที่เป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์นั่นหมายความว่า […]


  • แนวคิดกับชีวิต CEO ชาญศิลป์ ตรีนุชกร

    เมื่อวันที่ 1 ก.ย. 2561 นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ได้เข้าดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดยมีภารกิจสำคัญในการแสวงหาและลงทุนเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความมั่นคงและการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ก้าวสำคัญในครั้งนี้เกิดขึ้นได้จากการไม่ยอมหยุดที่จะเรียนรู้และการสั่งสมประสบการณ์กว่า 36 ปี ในแวดวงพลังงาน จากโอกาสที่ได้พบปะผู้คนมากมายทั้งในและต่างประเทศ ทำให้มีมุมมองของท่านชาญศิลป์ ตรีนุชกรกว้างไกล ไม่ว่าจะเรื่องการเมือง ธุรกิจ สื่อสารมวลชน การบัญชี การวางกลยุทธ์ เมื่อผนวกกับความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์ ที่ร่ำเรียนมา ส่งผลให้มุมมองกว้างไกลยิ่งขึ้น สามารถบริหารทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ไปพร้อม ๆ กับแนวคิดที่ต้องการตอบแทนองค์กรและประเทศชาติ ชาญศิลป์ ตรีนุชกร กับการเป็น CEO องค์กรใหญ่ คงไม่ต่างจากกัปตันเรือเดิมสมุทรที่ต้องพาเรือฝ่าคลื่นลมพายุไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ ท่ามกลางความไม่แน่นอนและความแตกต่างของลูกเรือแต่ละคน แต่ด้วยความที่มาจากครอบครัวทั่วไป ทำให้ยิ่งเข้าใจถึงปัญหาและธรรมชาติของคนระดับรากหญ้า ท่านไม่ใช้ตัวเองเป็นหลัก เปิดโอกาสให้แต่ละคนได้เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ โดยมองว่าทุกคนสามารถพัฒนาได้ ทำให้คนในองค์กรสามารถทำงานร่วมกับทีมและกำหนดเป้าหมายที่ไปสู่ความสำเร็จได้ ย่อมสามารถสร้างความสามัคคี การเห็นถึงประโยชน์ส่วนรวม เพื่อผลักดันให้การทำงานบรรลุเป้าหมายเดียวกันได้ ไม่ใช่เพียงบทบาทของผู้นำองค์กรสำหรับนายชาญศิลป์ ตรีนุชกร เพราะความสุขของชายผู้นี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งหน้าที่การงาน แต่ “ครอบครัว” ต่างหากคือนิยามความสุข […]


  • Котировки акций SAUDI ELECTRICITY COMPANY BEARER на finanz.ru

    Котировки акций SAUDI ELECTRICITY COMPANY BEARER на finanz.ru

    Котировки акций SAUDI ELECTRICITY COMPANY BEARER на finanz.ru При условии завершения IPO до 12 декабря акции Saudi Aramco, по прогнозам MSCI, будут включены в состав индекса MSCI EM не позднее завершения торгов 17 декабря 2019 г. По его мнению, отток средств из российских акций в результате включения акций Saudi Aramco, скорее всего, не превысит $100 […]