Articles Posted in the " โครงสร้างราคาน้ำมัน แก๊ส " Category

  • วาทกรรมชวนเชื่อ สู่ประเด็น “ไม่เติม ปตท.”

    หลากหลายคำในแง่ลบอาทิ น้ำมันแพง, ปรับราคาขึ้นมากกว่าลง, น้ำมันไทยแพงกว่าเพื่อนบ้าน สะท้อนให้เห็นถึงมุมมองของเหล่าคนในโซเชียลยามเมื่อมีการปรับราคาน้ำมัน เกิดเป็นโอกาสให้บางกลุ่มหยิบฉวยสร้างวาทกรรมให้เข้าใจผิดด้วยข้อมูลชวนเชื่อและชักจูงรณรงค์ให้เลิกเติม ปตท. หรือ ไม่เติม ปตท. ความเข้าใจผิดว่าด้วย ปตท. (ปัจจุบันคือ PTTOR) เป็นผู้กำหนดราคาน้ำมัน ผนวกกับสถานการณ์โควิด-19 ที่คลี่คลายทำให้สถานการณ์ราคาน้ำมันดิบในตลาดเป็นช่วงขาขึ้น กอปรกับ กลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน แห่กันลดกำลังการผลิตที่เคยหารือกันไว้รวมถึงน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดสิงคโปร์อยู่ในช่วงขาขึ้น และเป็นผลให้ราคาน้ำมันไทยปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง (ในช่วงตั้งแต่ปลายเมษายนถึงปัจจุบัน(มิถุนายน) ราคาน้ำมันในตลาดน้ำมันสำเร็จรูปสิงคโปร์ ดีเซลปรับขึ้น ประมาณ 20เหรียญ/บาร์เรล ในขณะที่เบนซินปรับขึ้นเกือบ 30 เหรียญ/บาร์เรล) จึงส่งผลต่อความรู้สึกของผู้ใช้น้ำมันอย่างรุนแรงและมองว่า ปตท. กำลังเอาเปรียบคนไทย เจ้าอื่นก็ปรับขึ้นเช่นกัน แต่ลอยตัวไปด้วยสาเหตุใดผู้เขียนก็มิอาจทราบได้ แน่นอนว่ากระแสรณรงค์ไม่เติม ปตท. ไม่ได้รุนแรงเหมือนสถานการณ์ปี 61 อาจเพราะหลายคนเข้าใจดีว่าการปรับราคาน้ำมันในประเทศครั้งนี้มาจากสถานการณ์โควิด-19 ที่คลี่คลาย แต่ก็เห็นได้ชัดว่ายังมีหลายคนที่มีความเข้าใจผิดเรื่องการปรับราคา บ้างก็เทียบกับตลาดน้ำมันดิบ บ้างก็โจมตีการบริหารของรัฐ หรือบ้างก็นำราคาน้ำมันของไทยไปเทียบกับประเทศอื่น ๆ ซึ่งหากมองตามความเป็นจริงแล้ว การปรับราคาในประเทศไทย ปตท. ไม่ได้เป็นผู้กำหนดราคาน้ำมัน แต่เป็นการปรับตามการอ้างอิงของตลาด และตามภาพจะเห็นได้ว่าราคาน้ำมันแต่ละปั๊มในประเทศไทย ส่วนใหญ่ราคาเท่ากัน การจะรณรงค์ไม่เติม ปตท. เพียงเจ้าเดียว […]


  • “ค่าการตลาดสูง ค่าการตลาดต่ำ”…ว่าด้วยเรื่องค่าการตลาดทำให้ราคาน้ำมันแพงจริงหรือ

    ค่าการตลาด คือหนึ่งในปัจจัยหลักของโครงสร้างราคา เพราะกำไรและต้นทุนการบริหารจัดการปั๊มอยู่ในนี้ หากไม่มีค่าการตลาด ก็จะไม่มีแรงจูงใจให้เกิดการลงทุนสถานีบริการตามจุดต่าง ๆ ของประเทศ (จะเห็นว่าค่าการตลาดยังไม่ใช่กำไร เพราะยังไม่ได้หักต้นทุนต่าง ๆ ภายในปั๊มอย่างที่กล่าว) สัดส่วนค่าการตลาดเมื่อคิดเป็นตัวเลขกลมๆ เฉลี่ยแล้วอยู่ที่ประมาณ 2 บาทกว่าๆ (ในที่นี้คือค่าการตลาดเฉลี่ยของทุกผลิตภัณฑ์) ในขณะที่น้ำมัน 1 ลิตรประมาณ 20 บาท นั่นหมายความว่า สัดส่วนค่าการตลาดในราคาปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 10-15% ของราคาขายโดยประมาณ คำถามคือ ตัวเลขสัดส่วนนี้สูงเกินไป จนเป็นสาเหตุว่าทำไมน้ำมันแพงได้หรือไม่ หรือการกำหนดค่าการตลาดเองของแต่ละเจ้าจะมีผลต่อราคาน้ำมันในประเทศถึงขนาดที่ว่าสามารถกำหนดราคาน้ำมัน อย่างที่บางคนชอบคิดกันว่า ปตท. เป็นผู้กำหนดราคาน้ำมัน (เพราะในความเป็นจริงค่าการตลาดเป็นปัจจัยเดียวในโครงสร้างราคาน้ำมันที่แต่ละแบรนด์ตามผู้ค้ามาตรา 7 สามารถตั้งราคาเองได้แต่มีหน่วยงานรัฐอย่าง สนพ. หรือชื่อเต็มๆ สำนักนโยบายและแผนพลังงาน กำกับดูแลอยู่ ) “ประเด็นร้อนแรงช่วงนี้ในแวดวงน้ำมันเราคงเห็นประเด็นการนำเสนอเรื่องที่ว่า นโยบายรัฐเห็นชอบค่าการตลาดในน้ำมันขายปลีก ไว้ที่อัตราเฉลี่ย 1.85 บาทต่อลิตร เป็นค่าการตลาดเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของน้ำมันทุกชนิดในภาพรวม ไม่ใช่พิจารณารายผลิตภัณฑ์ และจะมีความยืดหยุ่น +/- 0.40 บาทต่อลิตร หรือค่าการตลาดน้ำมันเชื้อเพลิงเฉลี่ยจะอยู่ในช่วง 1.45 – 2.25 […]


  • หยิบมาผิดตลาด แต่ด่ากราดบริษัทน้ำมัน

    ไม่น่าเชื่อว่าในสถานการณ์ ณ วันที่ 14 เมษายน 63 ที่เขียนบทความนี้ ราคาน้ำมันจะถูกกว่าน้ำอัดลมบางยี่ห้อ ก็ยังมีคนบางกลุ่ม (ที่โจมตีเรื่องพลังงานเป็นประจำ) หรือนักการเมืองบางคน (ซึ่งส่วนใหญ่ก็เพื่อชิงพื้นที่ออกสื่อ) พยายามจุดกระแสโจมตีราคาน้ำมันไทยว่าแพง ซึ่งคนกลุ่มนี้ไม่ว่าน้ำมันจะลงเท่าไหร่ ก็จะออกมาโจมตีว่าให้ลงมากกว่านี้อยู่ดี โดยเป้าการโจมตีก็พุ่งตรงไปที่บริษัทน้ำมันรายใหญ่ของประเทศอย่าง ปตท.(ถึงตอนนี้จะกลายเป็นบริษัทลูกอย่าง PTTOR (โออาร์) ทำหน้าที่ในการจำหน่ายน้ำมันแทน ปตท. ไปแล้วก็เถอะ) เพราะคิดกันเองว่า ปตท. เป็นผู้กำหนดราคาน้ำมันในประเทศ โดย “ตลาด” ที่คนเหล่านี้ใช้อ้างอิงในการโจมตีคือ ตลาด WTI กับ Brent หรือแม้แต่เคยมีคนหัวหมอ ใช้น้ำมันดิบ Dubai ด้วยก็ตาม ซึ่งที่กล่าวมานั้นเป็น “ตลาดน้ำมันดิบ”!!! ก่อนจะไปดูว่าทำไมเราถึงไม่สามารถใช้ 3 ตลาดนี้ในการอ้างอิงราคาได้ เรามาทำความรู้จักของตลาดทั้ง 3 แห่งกันก่อน WTI Crude หรืออีกชื่อหนึ่งคือ West Texas Intermediate เป็น “ตลาดน้ำมันดิบ” ที่สำคัญของอเมริกา น้ำมันดิบ WTI เป็นน้ำมันประเภทเบาและหวาน […]


  • สารพัดค่าที่ทำให้ราคาน้ำมันไม่ลดตามตลาดแบบบัญญัติไตรยางค์

    สารพัดค่าที่ทำให้ราคาน้ำมันไม่ลดตามตลาดแบบบัญญัติไตรยางค์

    “ทำไมราคาน้ำมันแพง ทั้งที่ตลาดโลกก็ลดมาเยอะแล้ว” “แต่ก่อนตลาดโลก 60 น้ำมันไทย 30 ตอนนี้ตลาดโลก 20 น้ำมันไทยต้องเหลือ 10 บาทสิ” “สถานการณ์ตลาดโลกลดไปตั้งเยอะ ของไทยลดนิดเดียวเอง” … สารพัดคำบ่นของผู้ใช้น้ำมันที่มีต่อสถานการณ์ราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่พบเห็นเป็นประจำในคอมเมนต์ปรับลดราคาน้ำมัน (ไม่นับพวกที่บ่นว่าน้ำมันถูก แต่ออกไปไหนไม่ได้) มันบอกอะไรเราได้หลายอย่าง โดยเฉพาะเรื่องคนทั่วไปที่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องโครงสร้างราคาที่น้อยมาก เลยจะขออธิบายสั้นๆ ถึงเหตุผลที่เราไม่สามารถเอาราคาตลาดที่ประกาศกันโครมคราม ตอนรายงานข่าวเศรษฐกิจตอนเช้า มาเทียบกับราคาหน้าปั๊มไทยได้แบบบัญญัติไตรยางค์ (สมมติว่าทุกคนเข้าใจตรงกันว่าราคาตลาดในที่นี้ หมายถึงราคาตลาดน้ำมันสำเร็จรูปสิงคโปร์ ไม่ใช่ตลาดน้ำมันดิบอเมริกา (WTI) ที่หลายคนชอบเข้าใจผิดเอาราคาน้ำมันไทยไปเทียบ) ในโครงสร้างราคามีมากกว่าแค่ราคา ณ โรงกลั่น โครงสร้างราคาน้ำมัน หรือราคาขายปลีกหน้าปั๊มที่เราใช้อยู่ มีหลายส่วนที่ประกอบกันกลายเป็นราคาขายปลีกหน้าปั๊ม ซึ่งมันมีมากกว่าแค่ราคา ณ โรงกลั่นที่เราอ้างอิงราคาตลาด ทั้งนี้ในโครงสร้างราคายังประกอบไปด้วย – ภาษี … ทั้งภาษีสรรพสามิต ภาษีเทศบาล รวมไปถึงภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยภาษีสรรพสามิต รัฐจะเป็นผู้กำหนดตายตัว ดังนั้นภาษีส่วนนี้จึงไม่ได้ขึ้นลงตามราคาตลาด เช่นเดียวกับภาษีเทศบาลที่จะเป็นไปตามสัดส่วนของภาษีสรรพสามิต โดยมีเพียงภาษีมูลค่าเพิ่มชนิดเดียวที่มีอัตราส่วนการเก็บเป็นร้อยละ 7 เทียบกับราคา และตัวเลขจะปรับขึ้นลงตามราคาน้ำมัน – กองทุนน้ำมัน … […]


  • ทำไมประเทศไทยต้องเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน

        “น้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ภายในประเทศ นั้น มีหน้าที่ที่จะต้องส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ตามอัตราที่คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานกำหนด ซึ่งปัจจุบันน้ำมันที่ต้องส่งเงินเข้า / ชดเชยจากกองทุนฯ คือ น้ำมันเบนซินออกเทน 95 น้ำมันแก๊สโซฮอล์ น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล และน้ำมันเตา โดยอัตราส่งเงินเข้า/ชดเชยจากกองทุนฯ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ และเงินจำนวนนี้คือรายรับและรายจ่ายของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง Share This:


  • เปิดหลักฐานปตท. เป็นของใคร

        กระแส ทวงคืน ปตท. เป็นกระแสที่มาบูมในระยะ 2-3 ปีที่ผ่าน แถมตอนนี้โดนโจมตีอย่างหนักโดยการโหนกระแสของ กปปส. เพื่อเรียกแขกมากขึ้น โดยข้อกล่าวหาร้ายแรงว่า กลุ่ม ปตท. คือน้ำเลี้ยงสำคัญของระบอบทักษิณ บ้างก็ว่า “ทักษิณ” เป็นเจ้าของ ปตท. และไม่น่าเชื่อว่า ข้อมูลเบสิคๆแบบนี้ Share This:


  • ขึ้นราคา lpg ประเทศเพื่อนบ้านขายก๊าซ LPG ราคา ถังละเท่าไหร่? ใครรู้บ้าง?

        ทุกครั้งที่การปรับขึ้นราคา lpg หลายคนมักมีคำถามมาว่า ทำไมต้องปรับแล้วปรับเผื่ออะไร ทั้งที่เศรษฐกิจโดยรวมก็ไม่ดีไม่แย่ ทำไมต้องทำร้ายแม่ค้าขายอาหารตาดำ และมนุษย์เงินเดือนทั้งหลายที่ต้องรับผิดชอบค่าอาหารจานด่วนที่เพิ่มขึ้น เมื่อยามขึ้นราคา lpg แต่ในยามที่ก๊าซlpgปรับลง ค่าอาหารกับไม่ได้ปรับตามไปด้วย นั้นเองจึงเป็นที่มาของเรื่องที่จะเล่าในวันนี Share This:


  • หยุดสัมปทานปิโตรเลียมเพราะ? อนาคตพลังงานไทย

    เรื่องหยุดสัมปทานปิโตรเลียมนี่เห็นกลุ่มต่อต้านหยิบมาบอกโน่นนิดนี่หน่อยแล้วก็รู้สึกว่าคนพวกนี้เก่งในการหาข้อมูลนะ แต่ที่เก่งกว่าคือการบอกความจริงไม่หมดนี่สิ ก็ไม่รู้ว่าที่มาเรียกร้องให้หยุดสัมปทานปิโตรเลียมกันแล้วเรียกร้องอยากใช้ระบบแบ่งปันผลผลิตแบบมาเลเซียนั้นกลุ่มต่อต้าน Share This:


  • เงินเดือนผู้บริหาร ปตท. ตอนที่ 2

    เงินเดือนผู้บริหาร ปตท. ตอนที่ 2

    เงินเดือนผู้บริหาร ปตท. ตอนที่ 2 คงไม่มีบริษัทไหนบนโลกที่ยอมจ้างพนักงานด้วยอัตราเงินเดือนที่สูงกว่าความสามารถในการสร้างมูลค่าให้บริษัทของพนักงานคนนั้นๆ  ยกตัวอย่าง พนักงาน ก. เงินเดือน 15,000 บาท นั่นหมายความว่าพนักงานผู้นี้มีความสามารถในการสร้างรายได้ให้บริษัทมากกว่าเดือนละ 15,000 บาทนั่นเอง ซึ่งเงินเดือนสูงหรือต่ำไม่สามารถวัดค่าได้จากสายตาคนภายนอก แต่เป็นเรื่องระหว่างพนักงานคนนั้นกับบริษัท ที่จะสามารถวัดมูลค่าเงินเดือนว่าคุ้มค่ามากแค่ไหน เงินเดือนผู้บริหาร ปตท. ก็เช่นกัน มีผู้นำตัวเลขจากรายงานประจำปีของบริษัท นำมาหาค่าเฉลี่ยและนำเสนอข้อมูลว่า เงินเดือนผู้บริหาร ปตท. สูงมาก ซึ่งไม่สามารถวัดได้ว่าคำว่าสูงนั้นหมายถึงอย่างไร ในเมื่อค่าคำว่า “สูง” ของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน จากมุมมองของคนทั่วไปเงินเดือน 10,000 – 20,000 บาท อาจมองว่าตัวเลขเงินเดือนนี้สูงมากกว่ารายได้รายปีของพวกเขาเสียอีก แต่ถ้าเป็นระดับผู้บริหารด้วยกันในบริษัทต่างๆ คงไม่มองแบบเดียวกัน เพราะพวกเขาต่างรู้ดีว่า เงินเดือนมาพร้อมความรับผิดชอบ และความสามารถเสมอ ยิ่งต้องใช้ความสามารถมากก็ยิ่งได้รับเงินเดือนมาก เพราะอย่างที่บอกในตอนต้นว่าเรากำลังพูดถึง “บริษัท” หากบริษัทจ้างพนักงานด้วยอัตราเงินเดือนที่สูงกว่าความสามารถของพนักงานคนนั้นๆ นั่นหมายความว่ารายจ่ายของบริษัทจะสูงกว่ารายรับ และปลายทางการบริหารก็คงไม่พ้นคำว่า “เจ๊ง” เป็นแน่ ไม่เพียงผู้บริหารของ ปตท. เท่านั้น ประเทศไทยยังมีผู้บริหารมากความสามารถ เต็มไปด้วยประสบการณ์ ที่ได้รับค่าตอบแทนเหมาะสมต่อสิ่งที่พวกเขาทำเพื่อบริษัทมากมาย ยกตัวเอย่าง […]


  • ปี2558 การขึ้นราคา LPG จะทำให้ราคาน้ำมันถูกลงมั้ย

    ปี2558 การขึ้นราคา LPG จะทำให้ราคาน้ำมันถูกลงมั้ย

    ขึ้นราคา LPG/ปรับโครงสร้างราคาพลังงาน ตอนที่ 2     ประชาชนได้อะไรจากการปรับโครงสร้างราคาพลังงาน?.. เป็นคำถามที่ประชาชนให้ความสนใจมาก เพราะนอกจากประชาชนจะรู้สึกว่าการปรับโครงสร้างในครั้งนี้ เหมือนการขึ้นราคา LPG ซึ่งทำให้ประชาชนต้อง “จ่ายมาก” ขึ้น โดยลืมให้ความสำคัญว่าการปรับในครั้งนี้ประเทศชาติจะได้ประโยชน์อะไร และประโยชน์นี้จะส่งผลถึงประชาชนอย่างไรบ้าง จึงจะขอนำเสนอประโยชน์ที่จะได้รับจากการปรับโครงสร้างราคาในครั้งนี้ออกเป็นข้อย่อยให้พิจารณากัน ดังนี้  1. LPG มีเพียงพอใช้ในทุกภาคส่วน เนื่องจาก     – เดิมผู้ขาย LPG มีความต้องการขายให้ภาคปิโตรเคมีมากกว่า เนื่องจากราคาที่สูงกว่า เพราะในภาคส่วนอื่นๆ มีการกำหนดราคาที่ถูกกว่า จนภาคส่วนอื่นๆ ต้องพึ่งพาการนำเข้าซึ่งมีราคาสูงกว่า การปรับโครงสร้างราคาจึงเป็นการสร้างความเท่าเทียมในด้านราคา     – ผู้ขายไม่มีแรงจูงใจในการขาย LPG เนื่องจากราคาขายในประเทศค่อนข้างต่ำไม่คุ้มค่าในการผลิต การปรับโครงสร้างราคาใหม่จึงสร้างอุปทานให้เกิดความต้องการขยายการผลิตเพื่อขายในประเทศมากขึ้น     – ก่อนการปรับโครงสร้างราคา เมื่อเข้าสู่ AEC ผู้ขายจะมีความต้องการขายออกนอกประเทศมากกว่า เนื่องจากราคาขายในประเทศถูกกว่าส่งออกค่อนข้างมาก ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยพึ่งพาการนำเข้า LPG อยู่ 15% หากมีการส่งออกมาก ก็ยิ่งทำให้ประเทศไทยต้องพึ่งพาการนำเข้ามากขึ้น การปรับโครงสร้างราคา LPG ให้ใกล้เคียงกับประเทศอื่นๆ ใน AEC จึงเป็นการลดอุปทานในการส่งออก 2. LPG […]