ถ้าเราลองพูดถึงปิโตรเคมีแล้ว หลายๆ ท่านอาจมองว่าอาจไม่ใช่เรื่องสำคัญกับชีวิตของเราซะเท่าไหร่และมักกล่าวหาว่าพลังงานไทย พลังงานใคร ปิโตรเคมีไม่เห็นจะสำคัญอะไรเลย ปิโตรเคมีแย่งก๊าซไปใช้บ้าง แต่ท่านทราบหรือไม่ว่าปิโตรเคมีนั้นสำคัญและอยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด ไม่ว่าจะเป็น ข้าวของเครื่อง สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในชีวิตประจำวันของเรานับตั้งแต่ลืมตาตื่นขึ้นจากที่นอน ทำธุระในห้องน้ำ แต่งเนื้อแต่งตัว ทำอาหาร จัดการงานบ้าน ออกเดินทางเพื่อไปเรียนหนังสือ หรือไปทำงาน พบปะสื่อสารกับผู้คน รวมไปถึงกิจกรรมการพักผ่อนสังสรรคหลังเลิกงานแทบทุกกิจกรรมล้วนมีปิโตรเคมีเข้ามาเกี่ยวข้องแทบทั้งสิน ปิโตรเคมีส่วนใหญ่จะผลิตมาจากทางด้านปิโตรเลียม ได้แก่ ทางก๊าซธรรมบ้าง ถ่านหิน หลังจากมีการสกัดตัวน้ำมันมาใช้แล้วเราเห็นว่าสิ่งที่เป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้สามารถนำมาใช้ประโชยน์ได้ มนุษย์เรานั้นก็ได้ทำการวิเคราะห์วิจัยแล้วนำสิ่งเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ สิ่งที่เราจะเห็นได้เลยว่าประโยชน์จากการนำปิโตรเคมีเข้ามาใช้นั้นทำให้คุณภาพชีวิตเราดีขึ้น โดยที่ข้าวเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของเรานั้นล้วนทำมาจากปิโตรเคมีทั้งสิน และที่สำคัญปิโตรเคมีเป็นต้นน้ำของสายโซ่มูลค่าเพิ่มที่ยาวมาก ทุกขั้นตอนจะต้องมีการลงทุนและมีการจ้างงานจึงก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจเป็นทวีคูณ ปัจจุบันประเทศไทยได้ขุดพบก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย เพื่อให้ได้รับประโยชน์มากที่สุดในเชิงพาณิชย์ จึงได้วางแผนการใช้ประโยชน์จากก๊าซธรรมชาติ โดยกำหนดเป็น 2 โครงการหลัก คือ โครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก (Eastern Seaboard) และโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ (Southern Seaboard) ซึ่งเป็นการสร้างท่าเรือน้ำลึก สำหรับโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ประกอบด้วยโครงการปิโตรเคมีขั้นต้น ระยะที่ 1 (NPC1) และโครงการปิโตรเคมีขั้นต้น ระยะที่ 2 (NPC2) NPC1 ตั้งอยู่ที่ตำบลมาบตาพุด จังหวัดระยอง […]
“กลุ่มทวงคืนพลังงานไทย” สร้างนิทานเรื่อง “ประเทศไทยเป็นเศรษฐีพลังงาน” และเรื่อง “สัญญาสัมปทานขายชาติ” ก็เพื่อลากไปสู่ประเด็นโจมตีหลักคือ ราคาน้ำมันสำเร็จรูป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง น้ำมันเบนซิน ที่คนพวกนี้อ้างว่า มีราคาแพงในอันดับต้น ๆ ของโลก ในปี 2555 ประเทศไทยกลั่นน้ำมันดิบนำเข้าและน้ำมันดิบ (รวมคอนเดนเสท) ที่ผลิตในประเทศ ออกมาเป็นน้ำมันสำเร็จรูป ประกอบด้วยผลผลิตหลัก เช่น ก๊าซแอลพีจี เบนซิน ดีเซล น้ำมันเตา น้ำมันเครื่องบิน เป็นต้น รวม 988,964 บาร์เรลต่อวัน แต่ในปีเดียวกัน ประเทศไทยบริโภคน้ำมันสำเร็จรูปเป็นจำนวน 767,612 บาร์เรลต่อวัน จึงมีเหลือส่งออกไปต่างประเทศจำนวน 199,304 บาร์เรลต่อวัน นัยหนึ่ง ประเทศไทยบริโภคน้ำมันสำเร็จรูปประมาณร้อยละ 80 ของปริมาณที่กลั่นได้ ที่เหลืออีกประมาณร้อยละ 20 จึงต้องส่งออก “กลุ่มทวงคืนพลังงานไทย” โจมตีอีกว่า โรงกลั่นน้ำมันได้กำไรมหาศาลจากการที่ปตท ปล้นทรัพยากรไทยเอาไปขายน้ำมันสำเร็จรูปในต่างประเทศ ดังจะเห็นได้ว่า มูลค่าการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปของไทยในปี 2555 สูงถึง 270,000 ล้านบาท สูงกว่ามูลค่าการส่งออกข้าวไทยที่ […]
ในช่วงระยะสองปีมานี้ ขบวนการโจมตีรัฐบาลและบริษัทปตท. จำกัด (มหาชน) ในประเด็นราคาน้ำมันแพง ได้ขยายตัวขึ้นจนเป็นประเด็นถกเถียงทั่วไปว่าพลังงานไทย พลังงานใครทำไมบ้านเราราคาน้ำมันถึงแพง ทำไมต้องอิงราคาตลาดสิงคโปร์จนเกิดเป็นเครือข่ายกลุ่ม “ทวงคืน ปตท” หรือ “ทวงคืนพลังงานไทย” มีผู้คนเข้าร่วมบนสื่อออนไลน์หลายพันคนแม้แต่คนเสื้อแดงส่วนหนึ่งก็ได้เข้าร่วมด้วย ขบวนการ “ทวงคืน” ดังกล่าว มีต้นกำเนิดมาตั้งแต่ก่อนรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ริเริ่มโดยนักเคลื่อนไหวองค์กรพัฒนาเอกชนซึ่งปัจจุบันเป็นสมาชิกวุฒิสภาเริ่มแรกมุ่งโจมตีนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลไทยรักไทยโดยรวมและเน้นไปที่การแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เป็นบริษัทปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เมื่อปี 2544 ในเวลานั้น คนพวกนี้กล่าวหาว่า มีการแจกจ่ายหุ้นปตท.ในหมู่นักการเมืองพรรคไทยรักไทยและเครือญาติ ชูป้าย “ทวงคืนสมบัติชาติ” ต่อต้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจทั้งหมด ในกรณีของ ปตท.ก็ได้ไปฟ้องเป็นคดีในศาลปกครอง ให้ยกเลิกการแปลงสภาพ ปตท.ซึ่งยืดเยื้อมาถึงปี 2550 เมื่อเกิดกรณีการจดทะเบียนมรดกโลกของปราสาทพระวิหารในสมัยรัฐบาลพรรคพลังประชาชน กลุ่มสันติอโศก พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และนักการเมืองสว.กลุ่มเผด็จการก็รวมตัวกันเคลื่อนไหว “ทวงคืนแผ่นดินไทย”ฉวยใช้กรณีปราสาทพระวิหารปลุกกระแสคลั่งชาติเพื่อโค่นล้มรัฐบาลพรรคพลังประชาชนเรียกร้องให้ยกเลิกบันทึกความเข้าใจร่วมกัน (เอ็มโอยู) ปี 2543 ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชา การเคลื่อนไหว “ทวงคืนแผ่นดินไทย” ได้ขยายประเด็นปราสาทพระวิหารไปสู่พื้นที่ทับซ้อนอื่นๆตลอดแนวพรมแดนไทย-กัมพูชา แล้วเอามาผูกโยงกับประเด็นผลประโยชน์พลังงานโดยลากเส้นพรมแดนของพวกตนลงไปครอบคลุมแหล่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยเพื่อแสดงว่า การ “สูญเสียดินแดน” บนบกจะนำไปสู่การ “สูญเสียพื้นที่ทางทะเล” ให้แก่กัมพูชาด้วย […]
ข้อกล่าวหาหนึ่งเกี่ยวกับการผูกขาดธุรกิจพลังงานของปตท.ที่มีการหยิบยกขึ้นมาพูดถึงตลอดเวลาก็คือรัฐบาลได้ให้ปตท.เข้าไปถือหุ้นในโรงกลั่นน้ำมันเกือบทุกแห่งในประเทศ(ห้าในหกแห่ง)ทำให้ปตท.มีอำนาจในการควบคุมการบริหารจัดการโรงกลั่นน้ำมันในประเทศเกือบทั้งหมด ก่อให้เกิดการผูกขาดในธุรกิจการกลั่นน้ำมันและการสั่งน้ำมันดิบจากต่างประเทศซึ่งเป็นสาเหตุประการหนึ่งที่ทำให้น้ำมันที่ขายในประเทศมีราคาแพงและทำให้หลายฝ่ายต่างออกมาเปิดโปง ปตทและหยิบยกอีกหลายๆ ประเด็นมาพูดถึงเพราะเนื่องจากมีการผูกขาดตัดตอนเรื่องการผูกขาดธุรกิจพลังงานของประเทศโดยปตท.นั้นเป็นเรื่องที่ติดพันกันมานานตั้งแต่ปตท.ยังมีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจเต็มตัวและเข้าไปทำธุรกิจพลังงานในฐานะตัวแทนของรัฐบาลดังนั้นจึงได้รับสิทธิพิเศษต่างๆในฐานะบริษัทน้ำมันแห่งชาติซึ่งก็เป็นเช่นนี้ในทุกประเทศที่มีการจัดตั้งบริษัทน้ำมันแห่งชาติขึ้นเพื่อมาดูแลผลประโยชน์ด้านพลังงานให้แก่รัฐ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อมีการแปรรูปปตท.เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และมีการขายหุ้นบางส่วนให้กับเอกชนทุกฝ่ายรวมทั้งปตท.ก็เห็นด้วยว่าควรจะลดการผูกขาดลงโดยเฉพาะในธุรกิจก๊าซธรรมชาติซึ่งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานก็กำลังพิจารณาที่จะให้มีเปิดเสรีมากขึ้นโดยอาจให้เริ่มในกิจการท่อส่งก๊าซและการนำเข้าก๊าซจากต่างประเทศก่อนแต่ในส่วนของธุรกิจการกลั่นน้ำมันซึ่งได้มีการกล่าวอ้างว่ามีการผูกขาดโดยปตท.มากถึง 83% ของกำลังการกลั่นทั้งหมด (โดยคิดง่ายๆว่าปตท.ถือหุ้น 5 ใน 6 โรงกลั่น = 83%) นั้น ผมคิดว่าเป็นการกล่าวอ้างที่ง่ายเกินไปและไม่มีเหตุผลรองรับอย่างเพียงพอ จากการเข้าไปปรับปรุงกิจการของโรงกลั่นเหล่านี้ ทำให้ปัจจุบันปตท.ถือหุ้นในโรงกลั่นต่างๆดังนี้ ไทยออยล์ 49.1% PTTGC 48.9% IRPC 38.5% SPRC 36.0% BCP 27.2% จะเห็นว่าโดยนิตินัยแล้ว ไม่มีโรงกลั่นใดเลยที่ปตท.ถือหุ้นเกิน 50% แต่แน่นอนว่าเราคงจะใช้จำนวนหุ้นเพียงอย่างเดียวมาเป็นตัววัดว่าปตท.มีอำนาจครอบงำการบริหารหรือไม่คงไม่ได้ คงต้องพิจารณาด้วยว่าปตท.เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สุดในบริษัทหรือไม่และมีอำนาจในการบริหารจัดการในบริษัทเด็ดขาดหรือไม่โดยเฉพาะในการกำหนดตัวหรือแต่งตั้งผู้บริหารระดับกรรมการผู้จัดการหรือประธานเจ้าหน้าที่ผู้บริหาร (CEO)ซึ่งถ้าเราใช้เกณฑ์นี้มาวัดการครอบงำการบริหารของปตท.ในโรงกลั่นต่างๆห้าแห่งที่ปตท.ถือหุ้นอยู่เราจะพบว่าปตท.มีอำนาจในการบริหารโรงกลั่นจริงๆเพียงสามแห่งเท่านั้นคือไทยออยล์ (TOP), PTTGC และ IRPC เพราะทั้งสามแห่งนี้ปตท.เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ถึงแม้จะไม่ใช่เป็นผู้ถือหุ้นเสียงข้างมากแต่เป็นผู้มีอำนาจในการบริหารจัดการอย่างแท้จริงสามารถส่งคนของตนเข้ามาเป็นผู้บริหารระดับสูงสุด (CEO) ได้ส่วนอีกสองแห่งคือ SPRC และ BCP นั้นปตท.เป็นแต่เพียงผู้ถือหุ้นเสียงข้างน้อย โดยในกรณีของ SPRC นั้นชัดเจนว่า Chevron ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ถึง 64% เป็นผู้มีอำนาจในการบริหารจัดการโรงกลั่นโดยการคัดเลือกและแต่งตั้งผู้บริหารก็ทำโดยคณะกรรมการบริษัท 9 คนซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนของ Chevron […]
เรื่องราวและที่มาอธิบายได้ตามภาพนี้ ตามรายละเอียดไม่ได้มีการนำเสนอเหตุและผลที่รัฐบาลอินโดนีเซีย อดีตประเทศสมาชิกกลุ่ม OPEC มีความจำเป็นในการต้องออกนโยบายดังกล่าว ซึ่งเป็นการหักดิบต่อความนิยมทางการเมืองของตัวเองเป็นอย่างยิ่ง กลับมีแต่การปลุกระดมให้คนไทยลุกฮือ บอกคนไทยมันโง่บ้าง ไทยเฉยบ้าง ทำไมไม่เอาอย่างชาวอินโดนีเซียกันบ้าง ผมว่าชาวทวงคืนนี่ชักจะเพี้ยนไปกันใหญ่แล้วล่ะก่อนอื่นคงต้องเท้าความกันสักหน่อยว่า (คงต้องแตะเรื่องสีเสื้อสักเล็กน้อยครับ) ต้นกำเนิดของการทวงคืน ปตทนี่มันเริ่มมาจากกลุ่มพันธมิตรนำโดยคนที่คุณก็รู้ว่าใคร (นึกถึงคนๆ นี้แล้ววลีนี้ก็ก้องอยู่ในหูผมครับ “ท้ากสิน…ออกไป๊” ทั้งๆ ที่เขาคนนั้นก็ออกไปตั้งนานละ แต่การเมืองกลุ่มก้อนนี้ก็ยังไปไม่พ้น “ท้ากสิน…ส้ากที” โอเคครับกลับมาที่เรื่องของเราดีกว่า) และเรื่องการทวงคืนท้ากสิน เอ๊ย!!! ทวงคืน ปตท นี่ก็เงียบหายไปช่วงหนึ่งในสมัยรัฐบาลขิงแก่ต่อด้วยรัฐบาลประชาธิปัตย์มันกลับมาหนักข้อขึ้นมาอีกครั้งก็ตอนเมื่อน่าจะต้นปีที่แล้วนี่ล่ะเมื่อมีผู้เชียวชาญพลังงานท่านหนึ่งตกจากตึกแกรมมี่มาจุติเป็น “ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน” ร่วมกับ “สอวอหญิงท่านหนึ่ง” ที่ก็มีความเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐบาลปัจจุบันพอสมควร ขณะที่ทางกลุ่มเสื้อแดงเองซึ่งค่อนข้างมีความหลากหลายทางอุดมการณ์ก็มีคนเสื้อแดงบางคนหันมาเล่นเรื่อง “ทวงคืน ปตท” กับเขาบ้างโดยไปๆ มาๆ คนซื้อแดงกลุ่มนี้ก็รวมตัวกับกลุ่มสอวอ&หม่อม แล้วสร้างวาทะกรรมว่า “เรื่องพลังงานเป็นเรื่องของส่วนรวมไม่มีสีเสื้อเข้ามาเกี่ยวข้อง” ไปออกเวทีร่วมกันในพื้นที่เหลืองบ้าง แดงบ้าง ปะปนกันไป เพื่อให้ข้อมูลจริง (ที่เอาไปพูดไม่หมด) เพื่อหามวลชนและพวกพ้อง อีกทางหนึ่งคราวนี้เราไปไกลสักหน่อยที่มาบตาพุด มีวิศวกรท่านหนึ่งไม่พอใจเรื่อง ปตท ไม่ตอกเสาเข็ม (ไม่รู้แกเป็นอะไรกับเสาเข็มมากมั๊ยอาจจะมีปมด้อยเรื่องเสาเข็มอะไรสักอย่าง) ออกมาสร้างเพจ “กลุ่มพิทักษ์อากาศสดชื่นมาบตาพุด” สร้างไปสร้างมาแกเริ่มสนุก เลยสร้าง “ทวงคืนพลังงานไทย“ ต่อด้วย “Thai Energy Get Back” และล่าสุด “แหล่งน้ำมันในเมืองไทย” ด้วยการทำ Infographic จับแพะชนแกะอันลือลั่นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลด้านพลังงาน เอาล่ะครับ 3 ย่อหน้าที่กล่าวมารวมถึงลูกเพจที่เชื่อข้อมูลของกลุ่มดังกล่าวสุดริ่มทิ่มประตูนั้น ผมขอเรียกรวมๆ ว่า “ชาวทวงคืน ปตท” แล้วกัน อย่างที่ผมบอกครับว่าชาวทวงคืนไม่มีการนำเสนอเหตุและผลที่รัฐบาลอินโดนีเซียมีความจำเป็นในการต้องออกนโยบายดังกล่าวเลยผมขออนุญาตลองวิเคราะห์ดูว่าเหตุใดรัฐบาลอินโดฯจึงยอมหักดิบทุบหม้อข้าวฐานเสียงตัวเองอย่างนั้น จากข้อมูลที่หาได้ในอินเตอร์เน็ตนี่ล่ะ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://pantip.com/topic/30625508 Share This:
ปีที่แล้วเพียงปีเดียว อินโดนีเซียใช้เงินงบประมาณแผ่นดินสูงถึง 15% (ประมาณ 660,000 ล้านบาท) ไปในการอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศ ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย พล ท. ซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน ประกาศว่าอินโดนีเซียอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศมากเกินไป จนกระทบต่อการขาดดุลงบประมาณและเศรษฐกิจของประเทศ โดยปีที่แล้วเพียงปีเดียว อินโดนีเซียใช้เงินงบประมาณแผ่นดินสูงถึง 15% (ประมาณ 22,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯหรือ 660,000 ล้านบาท) ไปในการอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศ ดังนั้นรัฐบาลจะใช้มาตรการที่จำเป็นเพื่อลดเงินอุดหนุนราคาน้ำมันเริ่มตั้งแต่เดือนหน้าเป็นต้นไป เพื่อลดปัญหาการขาดดุลงบประมาณ และลดการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ อินโดนีเซียเคยเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันและเป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่มโอเปค แต่ต่อมาได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกของกลุ่มโอเปค เพราะไม่ได้มีฐานะเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันอีกต่อไป เนื่องจากผลิตน้ำมันได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการภายในประทศที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากมาย จากการขยายตัวของพลเมืองที่สูงเป็นอันดับสี่ของโลก และการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สูง ตลอดจนนโยบายอุดหนุนราคาพลังงานอย่างยาวนาน จนทำให้ราคาพลังงานต่ำจนเกินไป เกิดการบริโภคพลังงานอย่างฟุ่มเฟือย และไม่มีประสิทธิภาพ ข้อสำคัญราคาพลังงานที่ต่ำจนเกินไป ทำให้ประชาชนชาวอินโดนีเซียเสพย์ติดพลังงาน ดังนั้นทุกครั้งที่รัฐบาลพยายามจะลดการอุดหนุนราคาพลังงานเพื่อแก้ไขปัญหาที่เรื้อรังมานาน ก็จะเกิดแรงต้านจากภาคประชาชน จนกระทั่งเกิดการจลาจล กลายเป็นปัญหาทางการเมือง จนบางครั้งถึงขนาดมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล อย่างเช่นในสมัยของประธานาธิบดีซูฮาร์โตเป็นต้น แม้แต่ในสมัยของรัฐบาลปัจจุบันเองก็เคยเจอกับปัญหาการก่อจลาจลจากการขึ้นราคาน้ำมัน(ลดการอุดหนุนราคา)มาแล้ว จนต้องลดราคาลงมาหลังจากขึ้นไปได้ไม่นาน จึงยังเป็นเรื่องที่น่าสงสัยว่าเที่ยวนี้รัฐบาลจะทำไปได้ตลอดรอดฝั่งหรือไม่ เรื่องการอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศให้ถูกกว่าราคาในตลาดโลกนั้น เป็นเรื่องที่มีการถกเถียงกันมากในทุกประเทศ และดูจะเห็นตรงกันว่า ถ้าประเทศใดมีทรัพยากรธรรมชาติด้านพลังงานเหลือเฟือ ชนิดที่ว่าใช้กันไปอีกร้อยปีก็ยังไม่หมด และเป็นประเทศผู้ส่งออกพลังงานสุทธิ (ส่งออกมากกว่านำเข้า) […]
ที่ผ่านมารัฐบาลทุกยุคทุกสมัยยึดมั่นในหลักการสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้แก่ประเทศมาโดยตลอด ทั้งนี้เพื่อให้แน่ใจว่าประชาชนจะมีพลังงานใช้อย่างเพียงพอและเหมาะสมในระยะยาว แม้ว่าประเทศเราจะสามารถผลิตพลังงานได้บางส่วน แต่ก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ทั้งหมด ทำให้ต้องมีการนำเข้าพลังงานสุทธิในสัดส่วนประมาณ 55-60% ของปริมาณการใช้ทั้งหมดในแต่ละปี ด้วยเหตุนี้ปตท กับรัฐบาลไทยจึงต้องมีการรณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักใช้พลังงานอย่างประหยัดและคุ้มค่ามากที่สุดควบคู่ไปกับการแสวงหาพลังงานแหล่งใหม่ๆ เพิ่มเติมทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ เพื่อเป็นหลักประกันว่าเราจะได้มีพลังงานเหลือให้ลูกหลานใช้ไปเรื่อยๆ ไม่ขาดแคลน และเพื่อส่งเสริมให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตได้อย่างต่อเนื่องต่อไป ในการดำเนินโครงการด้านพลังงานขนาดใหญ่ๆ แต่ละครั้ง ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่จะมีการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นและชี้แจงต่อสาธารณชนให้ทราบทุกครั้ง สำหรับการให้สัมปทานปิโตรเลียมในบ้านเรานั้น มี พ.ร.บ. ปิโตรเลียมเป็นกฎหมายที่ระบุขั้นตอนและวิธีการดำเนินการ รวมทั้งกำหนดหน่วยงานที่ทำหน้าที่ตรวจสอบในเรื่องดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพอยู่แล้ว ซึ่งก็เป็นรูปแบบที่ประเทศส่วนใหญ่ในโลกใช้กันอยู่ ที่สำคัญประเทศที่มีการนำเข้าพลังงานเป็นหลัก (Net Importer) ล้วนแล้วแต่ต้องดำเนินนโยบายพลังงาน โดยหลักเดียวกับประเทศไทยแทบทั้งสิ้น เนื่องจากพลังงานของโลกนับวันมีแต่จะหมดไปและจะเป็นภาระของลูกหลานในอนาคต หากคนรุ่นนี้ใช้พลังงานให้หมดไปโดยขาดความรับผิดชอบก็จะบอกได้เลยว่าไม่ต้องโทษปตท กับรัฐบาลไทยหรอกจงโทษตัวเราเองที่ไม่รู้จักการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าคงจะดีกว่า Share This:
ในการทำธุรกิจ ย่อมมีทั้งขึ้น-ลง เป็นธรรมดา ธุรกิจโรงกลั่นก็เช่นเดียวกัน ที่มีทั้งขึ้นและลง คงไม่มีธุรกิจใดที่จะมีแต่ขึ้นอย่างเดียวหรอก มิเช่นนั้นคนก็คงแห่ไปทำธุรกิจนั้นกันหมดแล้ว ที่ผ่านมาโรงกลั่นก็มีขาดทุน เพราะถ้ามีแต่กำไรจริง ทำไมในปี 2546 บริษัท เชลล์ ถึงต้องขายโรงกลั่นน้ำมันระยอง (RRC)? เหตุผลคือ ไม่สามารถแบกรับภาระขาดทุนได้ และถ้าไปดูข้อมูลผลประกอบการ ปี 2551 จะเห็นได้ว่า โรงกลั่นขาดทุนรวมกันหลายหมื่นล้านบาท ที่สงสัยกันว่าพลังงานไทย พลังงานใคร ทำไมโรงกลั่นถึงส่งออกน้ำมันไปต่างประเทศในราคาที่ถูกกว่าขายให้คนไทย ก็ต้องเข้าใจก่อนว่าโครงสร้างราคาน้ำมันบ้านเราเป็นยังไง มันประกอบด้วย 3 ส่วนหลักคือ – ต้นทุนเนื้อน้ำมัน – ค่าภาษีและกองทุน – ค่าการตลาด แล้วจะให้ทวงคืน ปตท ยังไง ก็ในเมื่อเวลาที่โรงกลั่นส่งออกน้ำมันไปขายต่างประเทศนั้น จะเป็นราคาที่ยังไม่รวมภาษีและกองทุน ซึ่งผู้นำเข้าแต่ละประเทศ จะต้องไปจ่ายภาษีและกองทุนอีกครั้งตามแต่ละประเทศจะเรียกเก็บ จึงทำให้เข้าใจผิดไปว่าโรงกลั่นส่งออกน้ำมันราคาถูกซึ่งจริงๆ แล้วเป็นการคิดกันคนละฐานราคาเท่านั้น ดูจากกราฟค่าการกลั่นของโรงกลั่นในประเทศไทย โครงสร้างราคาน้ำมันสำเร็จรูป (เฉลี่ยไตรมาสที่ 1/2555) จะเห็นได้ว่า ความเป็นจริงที่ว่ากันว่า ปตท ส่งออกน้ำมันออกต่างประเทศถูกกว่าที่ขายในประเทศไทย ก็เพราะว่า ราคานั้นเป็นราคาที่ยังไม่รวมภาษีและกองทุนน้ำมันของแต่ละประเทศ ซึ่งประเทศต่างๆก็เก็บภาษีไม่เท่ากัน แล้วแต่ละประเทศก็คิดราคากันคนละฐานราคาเท่านั้น ดังนั้น ค่าน้ำมันประเทศไทยแพงเพราะภาษีและกองทุนที่เรียกเก็บนั่นเอง […]