Articles Posted in the " ทุนสามานย์ " Category

  • ทุนสามานย์ครอบงำ ปตท. จริงหรือ

    ทุนสามานย์ครอบงำ ปตท. จริงหรือ

    เป็นที่กล่าวขานกันหนาหูทีเดียวเรื่อง ทุนสามานย์อันแสนเลวร้ายได้เข้าครอบงำกิจการพลังงานของประเทศ แต่ถามว่าใครกล่าวอันนี้ตอบแบบชี้ชัดไม่ได้ คงเข้าทำนอง “เขาว่ากันมา” (ก็อย่าถามต่อแล้วกันนะครับว่า “เขาน่ะใคร”) จริงๆแล้วเรื่อง ปตท. นี่ก็เห็นมีคนกล่าวหากันมากมายนะครับ กรณีหนึ่งที่สุดแสนจะคลาสสิกเลยก็คือเรื่องการกระจายหุ้นที่เปิดให้นักลงทุนและประชาชนทั่วไปจองและหมดภายใน 77 วินาที!!! ก็มีเสียงกล่าวหาว่าเป็นกลุ่มนักการเมือง กลุ่มทุนสามานย์ต่างๆที่กว้านซื้อไป เรื่องนี้คนที่จะมาให้คำตอบได้ดีที่สุดน่าจะเป็นบุคคลภายในที่มีส่วนในการกำหนดกรอบวิธีการและระเบียบการและเป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่ายอย่างคุณบรรยง พงษ์พานิชได้เขียนอธิบายไว้ละเอียดแล้วเรื่องนี้ลองตามไปอ่านกันได้ที่ การขายหุ้น ปตท. 2544 – IPO ครั้งสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นไทย http://thaipublica.org/2014/03/privatization-ipo-ptt-6/ สำหรับบทความในครั้งนี้เราจะมาพิสูจน์กันว่าจริงหรือที่กลุ่มทุนสามานย์ได้ครอบงำกิจการพลังงานของประเทศเราเสียแล้ว ก่อนอื่นเราลองไปดูโครงสร้างผู้ถือหุ้นของ ปตท กันว่ามีใครบ้าง จากข้อมูลผู้ถือหุ้นจะเห็นว่าผู้ถือหุ้นใหญ่ของ ปตท นั้นคือกระทรวงการคลัง หาใช่กลุ่มทุนสามานย์ใดๆไม่ ขณะที่ผู้ถือหุ้นรองๆลงมานั้นน่าสนใจว่า เราจะใช้คำว่าทุนสามานย์กับเหล่าผู้ถือหุ้นรองๆเหล่านี้ได้หรือไม่? ผมได้พยายามหาคำนิยามของทุนสามานย์ พบว่าคำนี้มีการนำมาใช้กันอย่างกว้างขวางโดยแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเมื่อครั้งก่อนรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ซึ่งก็เป็นไปในทางกล่าวหาโดยไร้หลักฐานเสียมากกว่า เพราะจนถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่เห็นมีใครคนไหนกระชากหน้ากากทุนสามานย์เหล่านั้นออกมาเสียที (จนนี่ก็เกิดรัฐประหารอีกครั้งแล้ว ผมก็ยังนึกไม่ออกว่ากลุ่มทุนสามานย์เหล่านี้คือใคร) ทั้งนี้หากท่านใดสนใจอ่านเรื่องราวเกี่ยวกับทุนสามานย์แบบวิชาการ (ไม่ใช่การใส่ร้ายป้ายสีกันทางการเมือง) ผมแนะนำให้ลองอ่านบทความนี้ดูครับ ทุนสามานย์ โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1346044936 กลับมาที่เรื่องของ ปตท กับ ทุนสามานย์ […]


  • “ทุนสามานย์”คำคุ้นหูหลังจากการแปรรูป ปตท.

    “ทุนสามานย์”คำคุ้นหูหลังจากการแปรรูป ปตท.

    ปตท. กับคำว่าเหลี่ยมทุน ทุนสามานย์ เป็นประโยคที่ คุ้นหูมากในยุคหลังจากการแปรรูป ปตท. ในเมื่อ ปตท. เป็นตัวอย่างของการพัฒนารัฐวิสาหกิจ แต่ยังมีคนบางกลุ่มใช้คำว่า “ทุนสามานย์” เป็นคำตราหน้า ปตท. ตั้งแต่มีการแปรรูป ปตท. จนถึงทุกวันนี้ ทำไมต้องแปรรูป ปตท –  เกิดจาการที่มีวิกฤตขาดแคลนน้ำมันทั่วโลก และเกิดการกักตุนน้ำมัน ทำให้ประเทศไทยขาดแคลนพลังงานรัฐบาลตอนนั้นตกอยู่ในสถานการณ์ลำบากมาก จึงส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทในกิจการน้ำมันมากขึ้น –  หลังจากนั้นก็เกิดผู้ค้าน้ำมันรายใหม่หลายราย ทำให้การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยต้องทำหน้าที่เป็น “ผู้คานอำนาจ” เพื่อไม่ให้เกิดการผูกขาดโดยบริษัทน้ำมันต่างชาติ พร้อมกับมีความจำเป็นต้องพลิกบทบาทของตนเองไปกับการแข่งขันในเชิงธุรกิจ –  การเกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ได้เป็นสิ่งเร้ากระตุ้นให้ ปตท. และบริษัทในเครือต้องเร่งปรับโครงสร้างขนาดใหญ่ ต้องขวนขวายหาเงินไปลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทางพลังงาน ในภาวะเงินหน้าตักมีข้อจำกัด ซึ่งเป็นการเดิมพันที่สำคัญต่ออนาคตความมั่นคงทางพลังงานของชาติที่มีบรรษัทน้ำมันข้ามชาติที่อยู่ในสภาพได้เปรียบพร้อมยึดธุรกิจนี้ของประเทศเรา จากวิกฤตครั้งนั้น การลอยตัวค่าเงินบาททำให้หนี้สินต่อทุนของบริษัทพุ่งเป็น 5 ต่อ 1 ทำให้ยากที่จะกู้เงินเพิ่มและภาระดอกเบี้ยที่ต้องชำระเพิ่มขึ้นจำนวนมาก ปตท.ต้องเลือกวิธีการที่ยืนบนลำแข้งของตนเองด้วยการแปรรูปเข้าตลาดหลักทรัพย์ ระดมทุนจากทั้งในและต่างประเทศ กู้สถานการณ์เพื่อสร้างความมั่นคงทางพลังงานระยะยาว หรือขอเงินงบประมาณสนับสนุน กู้เงินให้รัฐค้ำประกัน จะเป็นการเพิ่มภาระทางการเงินให้ภาครัฐซึ่งมีปัญหาอยู่อย่างมาก –  จากการแปรรูปเข้าตลาดหลักทรัพย์ ปตท. กลายมาเป็นบริษัทมหาชนที่คล่องตัว เมื่อวันที่ 1 […]


  • ปฏิรูป – สำรวจ/ผลิต ปิโตรเลียม

    ปฏิรูป – สำรวจ/ผลิต ปิโตรเลียม

    ภายใต้สภาวะการเมืองร้อนระอุ หลายฝ่ายพูดถึงการปฏิรูป เรื่องหนึ่งคือ สัมปทานปิโตรเลียม แต่ก่อนจะตัดสินว่าควรเปลี่ยนแปลงอย่างไร สมควรพิจารณาข้อเท็จจริงพลังงานไทยให้รอบด้านเพราะพลังงานเป็นเรื่องสลับซับซ้อนและมีผลกระทบกว้างขวาง     ข้อเท็จจริงพลังงานไทยในประเด็นข้องใจเกี่ยวกับรายได้ปิโตรเลียมของชาติมีอยู่หลายข้อ ได้เคยเขียนถึงตัวเลข 12.5% ว่านับแค่ค่าภาคหลวง ตามจริงต้องรวมภาษีเงินได้ปิโตรเลียม 50% และผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ (SRB) ซึ่งทำให้สัดส่วนกำไรของรัฐสูงขึ้น อยู่ที่ 58%ตามข้อมูลจริงถึงปี 2555 เป็นค่าเฉลี่ยจากระบบ Thailand I 54% และ Thailand III 72%  ทั้งนี้ไม่รวมเงินพิเศษอีกหลายอย่างที่เข้ารัฐ และไม่รวมรายได้จากโครงการร่วมไทย-มาเลเซีย มีการพูดว่าระบบสัมปทาน(Concession system) ต้องเปลี่ยนเป็นระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต (PSC : Production Sharing Contract) เพื่อให้รัฐได้ผลตอบแทนสูงๆ ทว่าความจริงแต่ละระบบเป็นเรื่องของกลไกที่แตกต่างกัน สัดส่วนกำไรของรัฐเป็นผลลัพธ์ที่ขึ้นอยู่กับค่าตัวเลขสัมประสิทธิ์ที่ผูกอยู่กับกลไกของแต่ละระบบ มีการศึกษาของนายแดเนียล จอนสตัน (Daniel Johnston) ที่สรุปอยู่ในแผนภูมิซึ่งพิมพ์ในคอลัมน์นี้ไม่ได้ เป็นการแสดง “สัดส่วนกำไร” ของรัฐ (แนวตั้ง) เปรียบเทียบกับ Prospectivity (แนวนอน) หรือศักยภาพปิโตรเลียม ซึ่งจะสูงหากมีโอกาสสำรวจพบได้ง่ายในปริมาณมากและผลิตได้ด้วยต้นทุนต่ำ กำไรผู้ลงทุนมากรัฐก็สามารถเก็บภาษีและผลตอบแทนต่างๆได้มาก แผนภูมิแสดงค่าเฉลี่ยของประเทศต่างๆ เป็นแนวเส้นจากมุมซ้ายล่างขึ้นสู่มุมบนขวา รวมทั้งระบบจัดเก็บรายได้ของแต่ละประเทศด้วย […]


  • ใช้ทุนสามานย์ทวงคืนปตททุนสามานย์

    ใช้ทุนสามานย์ทวงคืนปตททุนสามานย์

    เรื่องมันมีอยู่ว่าที่เพจ “ทวงคืน พลังงานไทย” ซึ่งเป็นเพจ “ขำขัน” ที่นิยมเอาข้อมูลมั่วๆ เกี่ยวกับ ปตท และปิโตรเลียมของประเทศไทยมาทำ infographic เผยแพร่ไปทั่วเน็ท เพื่อเรียกรอยยิ้มจากชาวไทยทั่วประเทศยกตัวอย่าง เช่น เรื่องขำขันที่ว่า เมืองไทยเป็นประเทศที่มีน้ำมันมากมายมหาศาลจนได้สมญานามว่าซาอุดิอาระเบียแห่งตะวันออกไกล มาวันนี้ แอดมินเพจทวงคืน พลังงานไทยก็ออกมาประกาศว่ามันถึงเวลาแล้วที่พ่อแม่พี่น้องหมู่มวลมหาประชาชนทุกท่าน จะต้องช่วยกันสนับสนุนตูให้เดินหน้าทวงคืน พลังงานไทยกลับคืนมาสู่มวลมหาประชาชนชาวไทยต่อไปที่ผ่านมาหลายปี แอดมินได้สู้รบปรบมือกับ ปตท มาโดนตลอดจน ปตท ต้องเสียงบประมาณหลายพันล้านเพื่อปิดปากสื่อมวลชนไทยไม่ให้แฉเบื้องหลังของ ปตท แต่ถึงแอดมินจะสู้กับมันอย่างสุดแรงเพียงไรก็ตาม แต่คนเราย่อมมีวันเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าหมดสิ้นเสบียงกรัง หมดสิ้นกำลังที่จะยืนหยัดสู้กับทุนสามานย์ต่อไป โดยใจความที่แอดมินเพจดังกล่าวเขียนไว้ในการเชื้อเชิญให้มาช่วยๆ บริจาคทุนสามานย์ให้แก มีดังนี้ เพจทวงคืน พลังงานไทย เป็นหัวหมู่ทะลวงฟัน ลุยด่านหน้าตลุยกะทุนสามานย์ ปตท. และปัญหาการฉ้อฉลทรัพย์พลังงานของชาติ วันนี้ ปตท.ใช้เงินหลายพันล้านปิดปากสื่อมวลชน ข้อมูลต่างๆ ปชช.จึงไม่รู้ -//- สื่อออนไลน์ของ  ปชช.ก็ย่อมต้องช่วยกันแฉ ที่จะช่วยกันแชร์…เพื่อสร้างประเด็นสาธารณะ  และที่ช่วยกันสนับสนุนได้ก็ช่วยกันนะครับตามกำลังครับ จะได้มีจุดรวมร่วมกัน ที่จะสู้เรื่องราคาพลังงานที่เป็นธรรมชอบธรรม อีกทั้งจะได้จบเรื่องที่ นสพ. หรือ นักวิชาการบอกว่า “กลุ่มทวงคืนพลังงานไทย มีเบื้องหลังจากกลุ่มอำมาตย์ […]


  • พลังงานไทย ตอนที่ 5 : น้ำมันแพงเพราะภาษีและกองทุนฯ

    พลังงานไทย ตอนที่ 5 : น้ำมันแพงเพราะภาษีและกองทุนฯ

    ข้อโจมตีอีกประการหนึ่งของ “กลุ่มทวงคืนพลังงาน” คือ ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินในประเทศไทยมีราคาแพงในอันดับต้น ๆ ของโลก ตัวอย่างที่คนพวกนี้เผยแพร่ไปทั่วคือ ราคาขายปลีกในประเทศไทยยังแพงกว่าในสหรัฐอเมริกาทั้งที่คนไทยโดยเฉลี่ยมีรายได้ต่ำกว่าคนอเมริกันอย่างมาก คนพวกนี้จงใจเลือกหยิบข้อมูลชำแหละ ปตท เฉพาะจุดโดยไม่กล่าวถึงภาพรวมทั้งหมด เป็นความจริงที่ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินในสหรัฐฯมีราคาต่ำกว่าไทย โดยปัจจุบันราคาขายปลีกในสหรัฐฯเท่ากับลิตรละ 32.60 บาท ขณะที่ราคาขายปลีกของไทยอยู่ที่ลิตรละ 45.25 บาท แต่จากสถิติราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินในเกือบ 200 ประเทศทั่วโลกในเดือนเมษายน 2556 จะพบว่า ประเทศไทยมีราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินอยู่ในระดับกลาง ๆ อันดับที่ 95-100 และยังมีอีกหลายประเทศที่พลเมืองมีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่าคนไทย แต่มีราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินแพงกว่า เช่น ศรีลังกา (46.8 บาท) เนปาล (47.8 บาท) กัมพูชา (49.2 บาท) ราวันดา (69.6 บาท) เป็นต้น ประเทศที่มีราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินแพงที่สุดในโลกคือ ตุรกี ที่ลิตรละ 90 บาท! ความจริงคือ ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินไม่ได้สัมพันธ์กับระดับรายได้ของประชากรในแต่ละประเทศ ประเทศยากจนไม่จำเป็นต้องมีราคาน้ำมันถูกกว่าประเทศร่ำรวย เพราะแม้ว่าราคาตัวเนื้อน้ำมันหน้าโรงกลั่นจะไม่แตกต่างกันมากนัก แต่รัฐบาลในแต่ละประเทศก็มีนโยบายภาษีน้ำมันที่ไม่เหมือนกัน ประเทศที่จัดเก็บภาษีน้ำมันสูงก็จะมีราคาขายปลีกสูง ประเทศยากจนที่มีราคาน้ำมันแพงมาก เช่น ในอาฟริกา […]


  • พลังงานไทย ตอนที่ 4 : ชำแหละ ปตท ห้ามส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป?

    พลังงานไทย ตอนที่ 4 : ชำแหละ ปตท ห้ามส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป?

    “กลุ่มทวงคืนพลังงานไทย” สร้างนิทานเรื่อง “ประเทศไทยเป็นเศรษฐีพลังงาน” และเรื่อง “สัญญาสัมปทานขายชาติ” ก็เพื่อลากไปสู่ประเด็นโจมตีหลักคือ ราคาน้ำมันสำเร็จรูป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง น้ำมันเบนซิน ที่คนพวกนี้อ้างว่า มีราคาแพงในอันดับต้น ๆ ของโลก ในปี 2555 ประเทศไทยกลั่นน้ำมันดิบนำเข้าและน้ำมันดิบ (รวมคอนเดนเสท) ที่ผลิตในประเทศ ออกมาเป็นน้ำมันสำเร็จรูป ประกอบด้วยผลผลิตหลัก เช่น ก๊าซแอลพีจี เบนซิน ดีเซล น้ำมันเตา น้ำมันเครื่องบิน เป็นต้น รวม 988,964 บาร์เรลต่อวัน แต่ในปีเดียวกัน ประเทศไทยบริโภคน้ำมันสำเร็จรูปเป็นจำนวน 767,612 บาร์เรลต่อวัน จึงมีเหลือส่งออกไปต่างประเทศจำนวน 199,304 บาร์เรลต่อวัน นัยหนึ่ง ประเทศไทยบริโภคน้ำมันสำเร็จรูปประมาณร้อยละ 80 ของปริมาณที่กลั่นได้ ที่เหลืออีกประมาณร้อยละ 20 จึงต้องส่งออก “กลุ่มทวงคืนพลังงานไทย” โจมตีอีกว่า โรงกลั่นน้ำมันได้กำไรมหาศาลจากการที่ปตท ปล้นทรัพยากรไทยเอาไปขายน้ำมันสำเร็จรูปในต่างประเทศ ดังจะเห็นได้ว่า มูลค่าการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปของไทยในปี 2555 สูงถึง 270,000 ล้านบาท สูงกว่ามูลค่าการส่งออกข้าวไทยที่ […]


  • พลังงานไทย ตอนที่1 ขบวนการ “สามทวงคืน” จากรัฐบาลทุนสามานย์

    พลังงานไทย ตอนที่1 ขบวนการ “สามทวงคืน” จากรัฐบาลทุนสามานย์

    ในช่วงระยะสองปีมานี้ ขบวนการโจมตีรัฐบาลและบริษัทปตท. จำกัด (มหาชน) ในประเด็นราคาน้ำมันแพง ได้ขยายตัวขึ้นจนเป็นประเด็นถกเถียงทั่วไปว่าพลังงานไทย พลังงานใครทำไมบ้านเราราคาน้ำมันถึงแพง ทำไมต้องอิงราคาตลาดสิงคโปร์จนเกิดเป็นเครือข่ายกลุ่ม “ทวงคืน ปตท” หรือ “ทวงคืนพลังงานไทย” มีผู้คนเข้าร่วมบนสื่อออนไลน์หลายพันคนแม้แต่คนเสื้อแดงส่วนหนึ่งก็ได้เข้าร่วมด้วย ขบวนการ “ทวงคืน” ดังกล่าว มีต้นกำเนิดมาตั้งแต่ก่อนรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ริเริ่มโดยนักเคลื่อนไหวองค์กรพัฒนาเอกชนซึ่งปัจจุบันเป็นสมาชิกวุฒิสภาเริ่มแรกมุ่งโจมตีนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลไทยรักไทยโดยรวมและเน้นไปที่การแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เป็นบริษัทปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เมื่อปี 2544 ในเวลานั้น คนพวกนี้กล่าวหาว่า มีการแจกจ่ายหุ้นปตท.ในหมู่นักการเมืองพรรคไทยรักไทยและเครือญาติ ชูป้าย “ทวงคืนสมบัติชาติ” ต่อต้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจทั้งหมด ในกรณีของ ปตท.ก็ได้ไปฟ้องเป็นคดีในศาลปกครอง ให้ยกเลิกการแปลงสภาพ ปตท.ซึ่งยืดเยื้อมาถึงปี 2550 เมื่อเกิดกรณีการจดทะเบียนมรดกโลกของปราสาทพระวิหารในสมัยรัฐบาลพรรคพลังประชาชน กลุ่มสันติอโศก พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และนักการเมืองสว.กลุ่มเผด็จการก็รวมตัวกันเคลื่อนไหว “ทวงคืนแผ่นดินไทย”ฉวยใช้กรณีปราสาทพระวิหารปลุกกระแสคลั่งชาติเพื่อโค่นล้มรัฐบาลพรรคพลังประชาชนเรียกร้องให้ยกเลิกบันทึกความเข้าใจร่วมกัน (เอ็มโอยู) ปี 2543 ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชา การเคลื่อนไหว “ทวงคืนแผ่นดินไทย” ได้ขยายประเด็นปราสาทพระวิหารไปสู่พื้นที่ทับซ้อนอื่นๆตลอดแนวพรมแดนไทย-กัมพูชา แล้วเอามาผูกโยงกับประเด็นผลประโยชน์พลังงานโดยลากเส้นพรมแดนของพวกตนลงไปครอบคลุมแหล่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยเพื่อแสดงว่า การ “สูญเสียดินแดน” บนบกจะนำไปสู่การ “สูญเสียพื้นที่ทางทะเล” ให้แก่กัมพูชาด้วย […]


  • ปตท ปล้นสมบัติคนไทยหรือพลังงานไทยเดินมาถูกทางแล้ว

    ปตท ปล้นสมบัติคนไทยหรือพลังงานไทยเดินมาถูกทางแล้ว

    ฝากให้อ่านสำหรับคนไทยที่เกลียดบริษัทน้ำมันของคนไทยที่ชื่อว่า “ปตท” จนเข้าไส้ พอดีวันก่อนไปเดินร้านหนังสือมือสองมา เจอหนังสือเก่ามาก ราคาหน้าปก 10 บาท ชื่อหนังสือ “ใครคุมน้ำมันโลก” โดย “เทพ จุลดุลย์” ฉบับพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ เมษายน 2518 เนื้อหาในเล่ม โดยคร่าวๆบอกว่า “บริษัทน้ำมันใหญ่ในไทย 3 รายในปี 2499 นั้นคือ เชลล์, สแตนดาร์ด และคาลเท็กซ์ ซึ่งล้วนเป็นยักษ์ใหญ่ในอาณาจักรน้ำมันที่คุมธุรกิจนี้ทั่วโลก ประเทศไทยได้ถูกอำนาจอิทธิพลของยักษ์ใหญ่น้ำมันบีบบังคับ ทั้งทางการทหารและการเมืองด้วยความช่วยเหลือรัฐบาลจักรวรรดินิยมตะวันตกดังที่เคยสำแดงเดชในประเทศต่างๆมาแล้ว รายงานจากวารสาร “เศรษฐสาร” เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2499 ได้กล่าวว่า “ในขณะที่ทหารอังกฤษอเมริกันเข้ามาเต็มเมืองเพื่อปลดอาวุธ บริษัทค้าน้ำมันก็ได้กลับมาเสนอขอซื้อโรงกลั่นน้ำมันในเชิงบังคับ รัฐบาลก็ต้องยอมขายโรงงานและทรัพย์สินอุปกรณ์หลายสิบล้านบาทให้บริษัทเชลล์และบริษัทสแตนดาร์ด แวคคั่ม ออยล์ (ซึ่งต่อมาคือเอสโซ่) ด้วยราคาเพียง 8 ล้านบาท บริษัทยังได้ยื่นสัญญาขอเช่าที่ช่องนนทรี 300 ไร่ในอัตราค่าเช่าตารางวาละ 1 บาทต่อปี สัญญาเช่าอายุ 30 ปี ตามนัยแห่งสัญญายังต้องให้เช่าบริการทางรถไฟ ที่เทียบท่าจอดเรือและบริการในบริเวณที่ดำเนินงานซึ่งเดิมเป็นของรัฐบาลให้แก่บริษัท” […]


  • ปตท. ตัวอย่างของการพัฒนารัฐวิสาหกิจ กับ การโดนตราหน้าว่าเป็นทุนสามานย์ของคนบางกลุ่ม??

    ปตท. ตัวอย่างของการพัฒนารัฐวิสาหกิจ กับ การโดนตราหน้าว่าเป็นทุนสามานย์ของคนบางกลุ่ม??

    ปตท. กับคำว่าเหลี่ยมทุน ทุนสามานย์ เป็นประโยคที่คุ้นตา คุ้นหูมากในยุคหลังจากการปล้นชาติ แปรรูป ปตท. ถึงอย่างนั้นแล้ว ยังไงอยากรบกวนอ่านกระทู้นี้ให้จบ และ ให้มองโดยอย่าเอาตัวเองเป็นศูนย์กลางจักรวาล อยากให้คุณผู้อ่าน “เปิดใจ” ไม่ใช่ “ปักใจ” เชื่อแต่ข้อมูลในทางลบ จากอดีต…การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ได้จัดตั้งเมื่อเดือนธันวาคม 2521 เพื่อเป็นบริษัทน้ำมันแห่งชาติ โดยเป็นการรวมกันขององค์การเชื้อเพลิงและองค์การก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดวิกฤตขาดแคลนน้ำมันทั่วโลก และเมื่อเกิดวิกฤตอีกครั้งในปี 2533 อิรักบุกยึดคูเวต เกิดการกักตุนน้ำมันทำให้ขาดแคลน รัฐบาลตอนนั้นตกอยู่ในสถานการณ์ลำบากมาก ประเทศไทยขาดแคลนพลังงานและแหล่งในการจัดการ ทำให้ต้องมีการส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทในกิจการน้ำมันมากขึ้น จนทำให้เกิดผู้ค้าน้ำมันรายใหม่หลายราย การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยต้องทำหน้าที่เป็น “ผู้คานอำนาจ” พร้อมกับมีความจำเป็นต้องพลิกบทบาทของตนเองไปกับการแข่งขันในเชิงธุรกิจไปด้วย ซึ่งเป็นหลักการเบื้องต้นของการพัฒนารัฐวิสาหกิจที่ต้องสร้างบรรยากาศในการแข่งขัน และเป็นจุดเริ่มต้นที่เสริมสร้างศักยภาพให้กับ ปตท. มาตั้งแต่เวลานั้น ซึ่งแตกต่างจากรัฐวิสาหกิจอื่นๆ ที่มักจะเป็นการผูกขาด ปตท.ต้องอยู่ท่ามกลางการโอบล้อมของบริษัทน้ำมันต่างชาติที่ยึดครองประเทศอยู่ ทั้งที่ตนเองมีขนาดเล็กจิ๋วมีทรัพย์สินเพียง 400 ล้านบาท ทำให้ต้องมีการปรับบทบาทเชิงพาณิชย์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน แล้วกระบวนการแปรรูปการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ก็ถูกจุดชนวนขึ้น ณ ตรงนั้น การเกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ได้เป็นสิ่งเร้ากระตุ้นให้ ปตท. และบริษัทในเครือต้องเร่งปรับโครงสร้างขนานใหญ่ ต้องขวนขวายหาเงินไปลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทางพลังงาน ในภาวะเงินหน้าตักมีข้อจำกัด ซึ่งเป็นการเดิมพันที่สำคัญต่ออนาคตความมั่นคงทางพลังงานของชาติที่มีบรรษัทน้ำมันข้ามชาติที่อยู่ในสภาพได้เปรียบพร้อมยึดธุรกิจนี้ของประเทศเรา จากวิกฤตครั้งนั้น การลอยตัวค่าเงินบาททำให้หนี้สินต่อทุนของบริษัทพุ่งเป็น 5 ต่อ 1 ทำให้ยากที่จะกู้เงินเพิ่มและภาระดอกเบี้ยที่ต้องชำระเพิ่มขึ้นจำนวนมาก ปตท.ต้องเลือกวิธีการที่ยืนบนลำแข้งของตนเองด้วยการแปรรูปเข้าตลาดหลักทรัพย์ ระดมทุนจากทั้งในและต่างประเทศ กู้สถานการณ์เพื่อสร้างความมั่นคงทางพลังงานระยะยาว หรือขอเงินงบประมาณสนับสนุน  กู้เงินให้รัฐค้ำประกัน […]